เทรนด์ลดพุงลดโรค
ปัจจุบันนี้สิ่งที่ผู้คนให้ความสำคัญมากที่สุดในชีวิตอันดับต้นๆ เลยก็คือ สุขภาพ เทรนด์การดูแลสุขภาพ ได้แก่ การรับประทานอาหารดีมีประโยชน์ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ การออกกำลังกาย ไปไกลถึงการทำสุขภาพร่างกายให้สวยงาม ฟิตเฟิร์มอยู่เสมอ ดังที่เคยได้ยินการรณรงค์ ลดพุงลดโรค หรือ โครงการ คนไทยไร้พุง เทรนด์การออกกำลังกายจึงกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปให้ความสำคัญมากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง
ผู้คนล้วนหันมาใส่ใจดูแลร่างกาย โดยเฉพาะการดูแลรูปร่าง น้ำหนักตัว ให้มีน้ำหนักที่เหมาะสม ปราศจากไขมันส่วนเกิน โดยการออกกำลังกาย ได้ประโยชน์ทั้งหุ่นสวยและป้องกันโรคร้ายนานัปการ โดยการออกกำลังกายให้ได้ผลควรออกอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ให้ได้วันละ 30 นาทีขึ้นไปเพราะหลังจาก 30 นาที ร่างกายถึงจะเริ่มดึงพลังงานสำรองมาใช้ซึ่งร่างกายเก็บไว้ในรูปของไขมันนั่นเอง
ออกกำลังกายเพื่อลดไขมัน
หลายคนที่มีเป้าหมายในการออกกำลังกายเพื่อต้องการลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกิน เพื่อให้ได้รูปร่างที่สวยงาม ใส่เสื้อผ้าได้ไม่อึดอัด ปราศจากพุงห้อยย้อย มักจะชั่งน้ำหนักอยู่เป็นประจำ เรามักใช้เครื่องชั่งน้ำหนักเป็นตัวชี้วัดว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่ในความจริง ตัวเลขบนเครื่องชั่งเหล่านี้ไม่สามารถวัดความอ้วนที่แท้จริง บางคนเป็นกังวลขนาดที่ว่าชั่งน้ำหนัก เช้า กลางวัน เย็น ซึ่งก็มักจะพบว่า น้ำหนักไม่ลดลงเลย หนำซ้ำกลายเป็นว่าพอน้ำหนักตัวไม่ลดลงก็เกิดความเครียด กลับไปกินมากกว่าเดิม
ออกกำลังกายแล้วน้ำหนักไม่ลด

วันนี้เราจะมาหาเหตุผลที่ว่าทำไม ทั้งๆที่เราพยายามออกกำลังกายอย่างหนักแต่น้ำหนักตัวกลับไม่ลดลงอย่างที่เราหวัง จริงๆแล้วเมื่อเราออกกำลังกายโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบ weight training ที่กำลังเป็นที่นิยมนั้น คือการที่ร่างกายสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นโดยกล้ามเนื้อนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงยังเป็นตัวช่วยหลักในการเผาผลาญไขมันแม้ในเวลาที่เราไม่ได้ออกกำลังกาย เมื่อออกลังกายแล้วถึงจุดที่เบิร์นไขมันออกไปได้ร่างกายของเราจึงบางลง ร่างกายลีนมากขึ้น ใส่เสื้อผ้าแล้วหลวมสบาย แต่น้ำหนักตัวยังเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ หลายคนอาจเคยได้ยินคำอธิบายสำหรับเหตุการณ์นี้ว่า “ไขมันเบากว่ากล้ามเนื้อ” คำพูดนี้ฟังดูแปลกๆ เพราะไขมัน 1 kg ก็หนักเท่ากับกล้ามเนื้อ 1 kg
แต่สิ่งที่ถูกต้องก็คือ “ไขมันมีความหนาแน่นน้อยกว่ากล้ามเนื้อ” ซึ่งจากสูตรความหนาแน่นตามความรู้พื้นฐานที่เราเคยเรียนนั้นคือ
ความหนาแน่น = มวล/ปริมาตร
อาจตีความได้ว่ามวล 1 kg เท่ากันนั้น ไขมันที่มีความหนาแน่นน้อยกว่านั้นจะมีปริมาตรมากกว่า (กินพื้นที่มากกว่า) กล้ามเนื้อที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ยกตัวอย่าง ไขมันที่หนัก 1 lb (ประมาณ 0.45 kg) ก็มีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือได้ ดังนั้นหากเป็นการลดน้ำหนักที่ถูกวิธีที่เน้นการลดไขมันเป็นหลักนั้น ถึงแม้จะลดได้น้ำหนักน้อยจนแทบไม่เห็นความต่างบนตาชั่งก็ตาม แต่ปริมาณไขมันที่หายไปนั้นก็อาจจะเยอะพอที่จะทำให้สัดส่วนเปลี่ยนแปลงได้ การลดน้ำหนักที่ดีคือการลดส่วนของไขมัน (ไม่ใช่ส่วนของกล้ามเนื้อ) ดังนั้นถ้าสัดส่วน %ไขมันในร่างกายลดลงก็ถือว่าการลดน้ำหนักนั้นได้ผล
เลิกสนใจน้ำหนักตัวกันเถอะ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายของเราสามารถกำจัดไขมันออกไปได้ นั่นคือเราต้องวัดปริมาณไขมัน ด้วย ที่วัดไขมัน เช่น caliper , สายวัด และทางนึงที่วัดไขมันในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ก็คือการวัดด้วย เครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมัน หรือ เครื่องวัดองค์ประกอบในร่างกาย ที่สามารถวัด เปอร์เซ็นไขมัน มวลไขมัน (kg) มวลกล้ามเนื้อ (kg) เปอร์เซ็นต์น้ำในร่างกาย ไขมันที่เกาะตามบริเวณอวัยวะภายในช่องท้อง อัตราการเผาผลาญเทียบอายุ อัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน ( bmr) รวมถึง มวลกระดูก (kg) เมื่อวัดด้วย เครื่องชั่งน้ำหนักวัดไขมัน จะทำให้เราทราบถึงมวลไขมันของเราว่าลดลงหรือไม่ โดยเลิกให้ความสำคัญกับน้ำหนักตัว คือการดูแลรูปร่างที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ซึ่งหลังจากที่เราออกกำลังกายอย่างถูกต้อง จะพบว่ามวลไขมันของเราจะลดลงอย่างแน่นอน จะทำให้เราประเมินผลการดูแลรูปร่างของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดกำลังใจในการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายต่อไป